ต้นชมพอ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
                   ลักษณะของต้นชมพอ ไม้พุ่ม สูง 3 -4 ม. ลำต้นเกลี้ยงหรือมีหนาม แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก เรือนยอดโปร่ง , ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นปลายคู่ เรียงสลับมีใบย่อย 7-11 คู่ ใบย่อยออกเป็นคู่เรียงตรงข้ามกัน รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนหรือเว้า ฐานใบมนหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวด้านหลังใบสีเข้มกว่าด้านท้อง , ดอก ดอกช่อออกบริเวณซอกใบ ปลายกิ่ง หรือส่วนยอดของต้น ดอกมีหลายสีตามพันธุ์ กลีบดอก 5 กลีบ กลีบใหญ่ 4 กลีบ 
กลีบเล็ก 1 กลีบ รูปช้อน ขอบกลีบหยักเป็นคลื่น เกสรเพศผู้ 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือฐานรองดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อม ปลายแยก , ผล ผลเป็นฝักแบน เมล็ดรูปแบนรี

                   สรรพคุณของต้นชมพอ รากหางนกยูงใช้ปรุงเป็นยาขับโลหิตระดูของสตรี
ยาขับประจำเดือน แก้บวม วัณโรคระยะบวมขึ้น แต่โดยมากใช้เฉพาะดอกสีแดง 

                   ประโยชน์ของต้นชมพอ นิยมปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เมล็ดในฝักดิบกินได้ โดยแกะเปลือกหุ้มเมล็ด ซึ่งมีรสฝาดทิ้งเนื้อในมีรสหวานมันเล็กน้อย เป็นสมุนไพร รากมีรสเฝื่อน เป็นยาขับระดู แก้วัณโรคระยะบวม ผลวิจัยพบว่า มีฤทธิ์ลดไข้จากใบหางนกยูงไทย
   
 
 
  อ้างอิงข้อมูลจาก 
  1. https://sites.google.com/site/talputtita/hang-nk-yung-thiy
  2. https://th.wikipedia.org/wiki
   
 
  พบในบริเวณ : ข้างห้องศูนย์ไฟฟ้า โรงเรียนเชียงดาววิทยาคม