ต้นสัก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
   
                   ลักษณะของต้นสัก    ไม้สัก เป็นต้นไม้ผลัดใบ ขนาดใหญ่มีลำต้นเปลา มักมีพูพอน ตอนโคนต้นเรือนยอดกลม สูงเกินกว่า 20 เมตร เปลือก หนา 0.30-1.70 ซม. สีเทา หรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา แตกเป็นร่องตื้น ๆ ไปตามทางยาวและหลุดออกเป็นแผ่นบาง ๆ เล็ก ๆ ใบ ใหญ่ ความกว้าง 25-30 ซม. ความยาว 30-40 ซม. รูปใบรีมน หรือรูปไข่กลับ แตกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ท้องใบสากหลังใบสีเขียว แกมเทา เป็นขน ดอก เล็กสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ ๆ ตามปลายกิ่งเริ่มออกดอกเดือน มิถุนายน เป็นต้น  ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลหนึ่ง ๆ มีเมล็ดใน 1-4 เมล็ด เปลือกแข็งมีขนสั้น ๆ นุ่ม ๆสีน้ำตาล หุ้มอยู่ ผลแก่ในราวเดือน พฤศจิกายน-มกราคม ลักษณะเนื้อไม้ สีเหลืองทอง ถึงสีน้ำตาลแก่ มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาลแก่แทรก เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อยใสกบ ตบแต่งง่าย
                 สรรพคุณของต้นสัก  ใบ รับประทานเป็นยาลดน้ำตาลในเลือด , บำรุงโลหิต รักษาประจำเดือนไม่ปกติ แก้พิษโลหิต , ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ , ทำยาอม แก้เจ็บคอ เนื้อไม้ รับประทานเป็นยา ขับลม ขับปัสสาวะ ได้ดีมาก ใช้แก้บวม , บำรุงโลหิต แก้ลมในกระดูก แก้อ่อนเพลีย , แก้ไข้ คุมธาตุ , ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง  เปลือก ฝาดสมาน ดอก ขับปัสสาวะ
                 ประโยชน์ของต้นสัก ไม้สักทองเป็นไม้โตเร็วปานกลางและเป็นไม้เนื้อแข็ง ที่มีลักษณะพิเศษกว่าไม้ชนิดอื่น โดยเฉพาะเนื้อไม้ มอด ปลวก และแมลง  ไม่ทำอันตราย เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ลวดลายสวยงาม เลื่อยไสกบตบแต่งง่าย จึงนิยมใช้ทำบ้านเรือนที่ต้องการความสวยงาม ในสมัยโบราณไม้สักทองหาง่าย ราคาไม่แพง การสร้างบ้านเรือน ใช้ไม้สักทองทำเสาเรือนด้วย เพราะมีความทนทาน  สามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานานๆ ปัจจุบันไม้สักทองหายากและมีราคาแพง จึงต้องใช้ไม้สักทองอย่างประหยัด และคุ้มค่า โดยนำไม้สักทองมาเข้าเครื่องฝานเป็นแผ่นบางๆ เพื่อทำเป็นไม้อัดแทนการใช้ไม้สักทั้งแผ่น นอกจากนี้ ยังนำไม้ขนาดเล็ก เศษไม้ ปลายไม้ มาใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ แกะสลัก ปาร์เก้ โมเสค วงกบ กรอบและบานประตูหน้าต่าง อย่างไรก็ตามในขณะที่ไม้สักทองในป่าธรรมชาติ   กำลังจะหมดไป รัฐบาลก็มีนโยบาย  ส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้สักทองจากสวนป่าที่ปลูกขึ้นมาใช้แทนกันได้ แม้ว่า ไม้สักที่ปลูกจะมีลวดลายไม่สวยงามเหมือนไม้สักทองในป่าธรรมชาติ แต่ก็มีความแข็งแรงทนทานเหมือนกัน
   
 
 
  อ้างอิงข้อมูลจาก 
  1. http://www.108wood.com/index.php
  2. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_27_4.htm
   
 
  พบในบริเวณ : พบได้ทั่วไปบริเวณหน้าโรงเรียนของโรงเรียนเชียงดาววิทยาคม